ทุนภายในสถาบัน

ทุนส่งเสริมการศึกษาระดับปริญญาโท ปริญญาเอก

ทุนส่งเสริมการศึกษา (ประเภทเรียนดี) จะให้แก่นักศึกษาใหม่ทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่เข้ามาศึกษาในหลักสูตรต่างๆ ของสถาบัน ทั้งหลักสูตรภาษาไทย หลักสูตรภาษาอังกฤษ และหลักสูตรนานาชาติ

คุณสมบัติของผู้รับทุน

1. ผู้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 1 (Full Scholarship)

  • ระดับปริญญาเอก จะต้องมีผลการศึกษาระดับปริญญาโทไม่ต่ำกว่า 3.50
  • ระดับปริญญาโท จะต้องมีผลการศึกษาในระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 3.00
  • 2. ผู้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 2
  • ระดับปริญญาเอก จะต้องมีผลการศึกษาระดับปริญญาโทไม่ต่ำกว่า 3.25
  • ระดับปริญญาโท จะต้องมีผลการศึกษาในระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.75
  • 3. ผู้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 3
  • ระดับปริญญาเอก จะต้องมีผลการศึกษาระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 3.25
  • ระดับปริญญาโท จะต้องมีผลการศึกษาในระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.50
  • จำนวนเงินทุนส่งเสริมการศึกษา (ประเภทเรียนดี)

    1. ผู้ได้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 1 (Full Scholarship)
    1.1 จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาทั้งหมดตลอดหลักสูตร
    1.2 จะได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนตัว ภาคการศึกษาละ 30,000.-บาท และภาคฤดูร้อน ภาคละ 15,000.-บาท
    2. ผู้ได้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 2 จะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
    3. ผู้ได้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 3 จะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตจ่านวนกึ่งหนึ่งตลอดหลักสูตร

    หลักเกณฑ์การรับทุน การระงับทุน และการชดใช้ทุน

    1) กรณีเรียนแผนรายวิชา และทำวิทยานิพนธ์ มีเงื่อนไข ดังนี้
    (ก) ผู้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 1 (Full Scholarship) จะต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสมในแต่ละภาคการศึกษาไม่ต่ากว่า 3.50 จึงจะมีสิทธิ์ได้รับเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนตัวรายภาค หากคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ากว่า 3.50 จะไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนตัว แต่ถ้าคะแนนเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ากว่า 3.30 จะได้รับทุนยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาทั้งหมด หากภาคการศึกษาใดได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 3.30 จะหมดสิทธิ์รับทุน
    (ข) ผู้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 2 และทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 3 จะต้องได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสมในแต่ละภาคการศึกษาไม่ต่ากว่า 3.30 หากภาคการศึกษาใดได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ากว่าเกณฑ์ที่กำหนดจะหมดสิทธิ์รับทุน
    2) กรณีเรียนแผนทำวิทยานิพนธ์ มีเงื่อนไข ดังนี้
    (ก) ผู้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 1 (Full Scholarship) จะต้องมีการรายงานความก้าวหน้าการทำวิทยานิพนธ์ทุกภาคการศึกษา โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ลงนามรับรอง จึงจะมีสิทธิ์ได้รับเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนตัวรายภาค และการทำวิทยานิพนธ์จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของหลักสูตร และข้อบังคับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หากผู้รับทุนไม่ได้รายงานความก้าวหน้าการทำวิทยานิพนธ์จะหมดสิทธิ์รับทุน
    (ข) ผู้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 2 และทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 3 จะต้องรายงานความก้าวหน้าการทำวิทยานิพนธ์ โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ลงนามรับรอง และการทำวิทยานิพนธ์จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของหลักสูตร และข้อบังคับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หากผู้รับทุนไม่ได้รายงานความก้าวหน้าการทำวิทยานิพนธ์จะหมดสิทธิ์รับทุน
    3) ผู้รับทุนลาพักการศึกษาจะหมดสิทธิ์ในการรับทุนทันที และหากภายหลังขอลาออก หรือ สิ้นสภาพการเป็นนักศึกษา กรณีที่ไม่สามารถสำเร็จการศึกษาตามข้อบังคับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จะต้องคืนเงินทุนการศึกษาที่ได้รับมาแล้วทั้งหมดให้กับสถาบัน เว้นแต่คณะอนุกรรมการบริหารสถาบันด้านการศึกษา จะพิจารณาเป็นอย่างอื่น
    4) ผู้รับทุนหากลาออกหรือสิ้นสภาพการเป็นนักศึกษา กรณีที่ไม่สามารถสำเร็จการศึกษาตามข้อบังคับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หรือขอยกเลิกการรับทุนจะต้องคืนเงินทุนการศึกษาที่ได้รับมาแล้วทั้งหมดให้กับสถาบัน เว้นแต่คณะอนุกรรมการบริหารสถาบันด้านการศึกษา จะพิจารณาเป็นอย่างอื่น
    5) กรณีที่ผู้รับทุนต้องลงทะเบียนเรียนวิชาใดวิชาหนึ่งซ้า ผู้รับทุนจะไม่ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาในวิชาที่ลงทะเบียนช้า
    6) กรณีที่ผู้รับทุนลงทะเบียนเรียนรายวิชาที่นอกเหนือจากแผนการศึกษาของหลักสูตร จะได้รับยกเว้นค่าลงทะเบียนเรียนวิชานั้นได้ ต่อเมื่อผู้รับทุนได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษาให้ลงทะเบียนเรียนวิชานั้นๆ
    (7) ผู้รับทุนจะต้องทำงานให้กับคณะ หรือสถาบัน ไม่ต่ำกว่าสัปดาห์ละ ๖ ชั่วโมง
    (8) ผู้รับทุนนี้ไม่มีสิทธิ์ที่จะไปขอรับทุนอื่นๆ ของสถาบัน ยกเว้นทุนสนับสนุนการทำและการตีพิมพ์วิทยานิพนธ์จากเงินงบประมาณแผ่นดิน
    (9) ผู้รับทุนส่งเสริมการศึกษา (ทุนประเภทเรียนดี) และทุนส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศประเภทที่ ๑ (Full Scholarship) จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาตามแผนโครงสร้างของหลักสูตร ส่วนผู้รับทุนส่งเสริมการศึกษา (ทุนประเภทเรียนดี) และทุนส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศประเภทที่ ๒ และผู้รับทุนส่งเสริมการศึกษา (ทุนประเภทเรียนดี) และทุนส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศประเภทที่ ๓ จะได้รับการยกเว้นค่าหน่วยกิตตามจำนวนหน่วยกิตตามแผนโครงสร้างของหลักสูตร ทั้งนี้ โดยผู้รับทุนจะต้องลงทะเบียนตามแผนโครงสร้างหลักสูตร กรณีที่ไม่ลงทะเบียนตามแผนหลักสูตรจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณบดีที่คณะที่เข้าศึกษา

    เงื่อนไขสำหรับผู้ได้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 1 (Full Scholarship)

    1. ผู้รับทุนในระดับปริญญาโทจะต้องศึกษาในแผน ก. (ทำวิทยานิพนธ์)
    2. ผู้รับทุนจะได้รับเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนตัวในแต่ละภาคการศึกษา ต่อเมื่อมีการลงทะเบียนเข้าเรียนในภาคการศึกษาที่ 1 และภาคการศึกษาที่ 2 ไม่ต่ากว่า 9 หน่วยกิตต่อภาคการศึกษา หรือลงทะเบียนเป็นไปตามแผนการศึกษาของหลักสูตร ส่วนภาคฤดูร้อนจะต้องมีการลงทะเบียนเข้าเรียนไม่ต่ากว่า 3 หน่วยกิต ทั้งนักศึกษาระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอก จึงจะมีสิทธิ์ได้รับเงินสนับสนุน
    3. ผู้รับทุนจะได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมการสมัครสอบประมวลความรู้เฉพาะในการสมัครสอบครั้งแรกเท่านั้น
    4. ค่ารักษาสถานภาพหากเกินระยะเวลาการรับทุน ให้ผู้รับทุนเป็นผู้ช่าระค่ารักษาสถานภาพ
    5. ลิขสิทธิ์ในวิทยานิพนธ์ให้เป็นลิขสิทธิ์ร่วมระหว่างนักศึกษาผู้รับทุนกับสถาบัน เป็นระยะเวลา 5 ปี หลังจากนั้นให้ลิขสิทธิ์ในวิทยานิพนธ์ตกเป็นของนักศึกษาผู้รับทุน หากผู้รับทุนด่าเนินการใดๆ อันเป็นการละเมิดสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาหรือสิทธิ์ใดๆ ทางกฎหมายของผู้อื่น “ผู้รับทุน” ต้องเป็นผู้รับผิดชอบในความเสียหายต่อการละเมิดสิทธิ์นั้นแต่เพียงผู้เดียว
    6. ค่าธรรมเนียมการตรวจรูปแบบวิทยานิพนธ์/ค่าธรรมเนียมการใช้บริการระบบสารสนเทศ E-THESIS ให้ผู้รับทุนเป็นผู้ชำระค่าธรรมเนียม
    7. ผลงานวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่มีกรรมการภายนอกมาร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) ก่อนการตีพิมพ์ ทั้งนี้ วารสารระดับนานาชาติต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) หรือโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) กาหนด โดยไม่รวม Proceedings
    (8) ผลงานวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI (เฉพาะวารสารที่อยู่ในกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2) โดยไม่รวม Proceedings

    เงื่อนไขส่าหรับผู้ได้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 2

    ระดับปริญญาโท
    กรณีผู้รับทุนเลือกศึกษาแผน ก
    ผลงานวิทยานิพนธ์อย่างน้อยจะต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI (เฉพาะวารสารที่อยู่ในกลุ่มที่ 1 หรือกลุ่มที่ 2) โดยไม่รวม Proceedings
    กรณีผู้รับทุนเลือกศึกษาแผน ข
    (1) ผลงานเสนอต่อที่ประชุมวิชาการที่มีรายงานการประชุม (Proceedings) ที่มีกรรมการภายนอกร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) ก่อนการตีพิมพ์ โดยต้องเป็นบทความวิจัยเต็มรูปแบบ (Full Paper) ที่ได้ตีพิมพ์เรียบร้อยแล้ว หรือ
    (2) ได้รับรางวัลจากการแข่งขัน หรือได้รับรางวัลจากการประกวดทางวิชาการ ซึ่งต้องเป็นการแข่งขันหรือการประกวดที่ได้รับความเห็นชอบจากคณบดีคณะที่เข้าศึกษา หรือ (3) เสนอผลงานในองค์กรหรือชุมชนเพื่อการพัฒนา ซึ่งต้องเป็นองค์กรหรือชุมชนที่ได้รับความเห็นชอบจากคณบดีคณะที่เข้าศึกษา โดยผลงานการพัฒนาจะต้องได้รับการรับรองผลงานจากผู้บริหารองค์กรหรือชุมชนด้วย
    ระดับปริญญาเอก
    ผลงานวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่มีกรรมการภายนอกร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) ก่อนการตีพิมพ์ ทั้งนี้ วารสารระดับนานาชาติต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) หรือโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ก่าหนด โดยไม่รวม Proceedings”

    เงื่อนไขสำหรับผู้ได้รับทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 3

    ระดับปริญญาโท
    กรณีผู้รับทุนเลือกศึกษาแผน ก
    ผลงานวิทยานิพนธ์อย่างน้อยจะต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI (เฉพาะวารสารที่อยู่ในกลุ่มที่ 1 หรือกลุ่มที่ 2) โดยไม่รวม Proceedings
    กรณีผู้รับทุนเลือกศึกษาแผน ข
    (1) ผลงานเสนอต่อที่ประชุมวิชาการที่มีรายงานการประชุม (Proceedings) ที่มีกรรมการภายนอกร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) ก่อนการตีพิมพ์ โดยต้องเป็นบทความวิจัยเต็มรูปแบบ (Full Paper) ที่ได้ตีพิมพ์เรียบร้อยแล้ว หรือ
    (2) ได้รับรางวัลจากการแข่งขัน หรือได้รับรางวัลจากการประกวดทางวิชาการ ซึ่งต้องเป็นการแข่งขันหรือการประกวดที่ได้รับความเห็นชอบจากคณบดีคณะที่เข้าศึกษา หรือ
    (3) เสนอผลงานในองค์กรหรือชุมชนเพื่อการพัฒนา ซึ่งต้องเป็นองค์กรหรือชุมชนที่ได้รับความเห็นชอบจากคณบดีคณะที่เข้าศึกษา โดยผลงานการพัฒนาจะต้องได้รับการรับรองผลงานจากผู้บริหารองค์กรหรือชุมชนด้วย หรือ
    (4) ผลงานได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้
    ระดับปริญญาเอก
    ผลงานวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่มีกรรมการภายนอกร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) ก่อนการตีพิมพ์ ทั้งนี้ วารสารระดับนานาชาติต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) หรือโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ก่าหนด โดยไม่รวม Proceedings”
    ระยะเวลาการให้ทุน (นับจากวันเปิดภาคการศึกษาที่นักศึกษาผู้นั้นขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา)
    หลักสูตรปริญญาโท ให้ได้รับทุนเป็นระยะเวลา 2 ปีการศึกษา
    หลักสูตรปริญญาเอก ให้ได้รับทุนเป็นระยะเวลา 3 ปีการศึกษา
    ประกาศสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เรื่อง คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการให้ทุนส่งเสริมการศึกษา (แขวนไฟล์)

    ทุนสนับสนุนการทำและการตีพิมพ์วิทยานิพนธ์จากเงินงบประมาณแผ่นดิน

    คุณสมบัติของผู้มีสิทธิขอรับทุน

    1. เป็นนักศึกษาสามัญของสถาบันระดับปริญญาเอก หรือระดับปริญญาโทที่เลือกศึกษาตามแผน ก.
    2. ได้รับอนุมัติหัวข้อและเค้าโครงวิทยานิพนธ์เรียบร้อยแล้ว ไม่เกิน 1 ภาคการศึกษา นับจากวันที่สอบหัวข้อวิทยานิพนธ์ผ่านโดยไม่นับภาคฤดูร้อน และมีอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เป็นผู้รับรอง

    ประเภทของทุน

    จำแนกตามระดับของวิทยานิพนธ์เป็น 2 ประเภท คือ
    1. ทุนสนับสนุนการทำวิทยานิพนธ์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาเอก ทุนละไม่เกิน 40,000 บาท
    2. ทุนสนับสนุนการทำวิทยานิพนธ์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาโท ทุนละไม่เกิน 20,000 บาท

    การพิจารณาให้ทุน

    การพิจารณาคัดเลือกและอนุมัติการให้ทุนเป็นอำนาจหน้าที่และดุลยพินิจของที่ประชุม ทคอ.การศึกษาของสถาบัน และผลการพิจารณาของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด โดยสถาบันจะประกาศผลการคัดเลือกผู้ได้รับทุนให้ทราบโดยทั่วกัน สำหรับนักศึกษาที่ไม่ได้รับทุนอุดหนุนในการเสนอครั้งแรก สามารถยื่นขอรับทุนในคราวต่อไปได้

    การสมัครขอรับทุน

    1. ผู้สมัครขอรับทุนจะต้องยื่นใบสมัครขอรับทุนสนับสนุนการทำและการตีพิมพ์วิทยานิพนธ์ (ตามแบบฟอร์มที่กำหนด) พร้อมเค้าโครงวิทยานิพนธ์ที่ได้รับอนุมัติแล้ว และแนบความเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ (ตามแบบฟอร์มที่กำหนด) ที่คณะที่ผู้ขอรับทุนการศึกษาอยู่ เพื่อให้คณบดีลงนามในท้ายแบบฟอร์มความเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
    2. ให้คณะเป็นผู้ดำเนินการจัดส่งใบสมัครและหลักฐานต่างๆของผู้สมัครขอรับทุนไปยังกองบริการการศึกษา เพื่อให้กองบริการการศึกษาราบรวมเสนอที่ประชุม ทคบ.การศึกษา พิจารณาต่อไป

    การจ่ายเงินทุน

    ให้ผู้รับทุนสนับสนุนการทำและการตีพิมพ์วิทยานิพนธ์จากเงินงบประมาณแผ่นดิน ได้รับเงินทุนโดยแบ่งจ่ายเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) 3 งวด โดยให้แบ่งจ่ายเป็นเปอร์เซ็น 30 : 30 : 40 ของจำนวนเงินทุนที่ได้รับทั้งหมด ดังนี้

    ครั้งที่ 1 เมื่อนักศึกษาได้รับอนุมัติให้ได้รับทุน

  • 12,000 บาท (30%) สำหรับวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
  • 6,000 บาท (30%) สำหรับวิทยานิพนธ์ปริญญาโท<
  • ครั้งที่ 2 เมื่อนักศึกษารายงานความก้าวหน้าของวิทยานิพนธ์ตามแผนโครงการ และสอบป้องกันวิทยานิพนธ์แล้ว

  • 12,000 บาท (30%) สำหรับวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
  • 6,000 บาท (30%) สำหรับวิทยานิพนธ์ปริญญาโท
  • ครั้งที่ 3

  • 16,000 บาท (40%) สำหรับวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ผลงานวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ ที่กรรมการภายนอกมาร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) ก่อนการตีพิมพ์ ทั้งนี้ วารสารระดับนานาชาติต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) หรือโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) กำหนด โดยไม่รวม Proceedings
  • 8,000 บาท (40%) สำหรับวิทยานิพนธ์ปริญญาโท ผลงานวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI (เฉพาะวารสารที่อยู่ในกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2) โดยไม่รวม Proceedings
  • เงื่อนไขการรับทุน

    1. ผู้รับทุนจะต้องส่งรายงานความก้าวหน้าของการทำวิทยานิพนธ์ พร้อมทั้งแนบความเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับความก้าวหน้าในการ (ตามแบบฟอร์มที่กำหนด)
    2. หากผู้รับทุนมีการเปลี่ยนแปลงหัวข้อวิทยานิพนธ์จากหัวข้อเดิมที่ได้รับอนุมัติให้ได้รับทุนสนับสนุนการทำวิทยานิพนธ์ การเปลี่ยนแปลงเปลี่ยนแปลงหัวข้อวิทยานิพนธ์ต้องได้รับความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และต้องได้รับอนุมัติจาดคณบดี จากนั้นให้แจ้งที่ประชุม ทคบ.การศึกษาทราบ
    3. หากผู้รับทุนยุติการทำวิทยานิพนธ์ ให้ถือเป็นการระงับทุนไปโดยปริยาย
    4. กรณีผู้รับทุนได้รับอนุมัติให้สำเร็จการศึกษาแล้ว แต่ผลงานวิทยานิพนธ์ยังไม่สามารถตีพิมพ์ได้ตามเงื่อนไขการรับทุนครั้งที่ 3 ผู้รับทุนสามารถดำเนินการเสนอผลงานในวารสารฉบับใหม่ตามเกณฑ์การได้รับทุน ทั้งนี้ หากเสนอผลงานวิทยานิพนธ์ในวารสารระดับนานาชาติ ผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์หรือได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ภายใน 2 ปี นับจากวันที่สำเร็จการศึกษา หรือหากเสนอผลงานวิทยานิพนธ์ในวารสารระดับชาติ (TCI) ผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์หรือได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ภายใน 1 ปี นับจากวันที่สำเร็จการศึกษา และหากไม่สามารถดำเนินการได้จะหมดสิทธิ์รับทุนครั้งที่ 3

    ลิขสิทธิ์ในวิทยานิพนธ์

    ลิขสิทธ์ในวิทยานิพนธ์ให้เป็นลิขสิทธ์ร่วมระหว่างนักศึกษาผู้รับทุนกับสถาบัน เป็นระยะเวลา 5 ปี หลังจากนั้นให้ลิขสิทธ์ในวิทยานิพนธ์ตกเป็นของนักศึกษาผู้รับทุน หากผู้รับทุนดำเนินการใดๆ อันเป็นการละเมิดสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาหรือสิทธิ์ใดๆ ทางกฏหมายของผู้อื่น “ผู้รับทุน” ต้องเป็นผู้รับผิดชอบในความเสียหายต่อการละเมิดสิทธิ์นั้นแต่เพียงผู้เดียว

    ประกาศรับสมัครและใบสมัครทุนค่าธรรมเนียมการศึกษา

    หลักเกณฑ์การให้ทุนสนับสนุนการทำวิทยานิพนธ์จากงบประมาณแผ่นดิน
    ใบสมัคร ขอรับทุนวิทยานิพนธ์จากงบประมาณแผ่นดิน
    แบบรายงานความก้าวหน้าการทำวิทยานิพนธ์

    ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://edserv.nida.ac.th/th/admission/scholarship

    ทุนภายนอกสถาบัน

    ทุนพัฒนาบัณฑิตศึกษา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

    งบประมาณสนับสนุนการทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท (งบประมาณไม่เกิน 150,000 บาท) และปริญญาเอก (งบประมาณไม่เกิน 300,000 บาท) โดยเปิดรับสมัครขอรับทุนปีละ 1 ครั้ง ช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ของทุกปี สามารถติดตามข่าวสารการเปิดรับสมัครได้ที่ https://www.nrct.go.th/fund

    โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

    งบประมาณสนับสนุนการเรียนและการทำวิจัยระดับปริญญาเอก

    ติดตามข่าวสารการเปิดรับสมัครได้ที่ http://rgj.trf.or.th/main/home-th