หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ

Doctor of Philosophy Program in Integrated Tourism and Hospitality Management

  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ)
  • ปร.ด. (การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ)
  • Doctor of Philosophy (Integrated Tourism and Hospitality Management)
  • Ph.D. (Integrated Tourism and Hospitality Management)
หมวดวิชาหลักสูตรแบบ 1.1หลักสูตรแบบ 2.1หลักสูตรแบบ 2.2
วิชาเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษาไม่น้อยกว่า 20 ชม.
(ไม่นับหน่วยกิต)
ไม่น้อยกว่า 20 ชม.
(ไม่นับหน่วยกิต)
ไม่น้อยกว่า 20 ชม.
(ไม่นับหน่วยกิต)
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน6 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)6 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)6 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
หมวดวิชาพื้นฐานXX6 หน่วยกิต
หมวดวิชาหลักอาจมีการเรียนเพิ่มเติม ไม่นับหน่วยกิต12 หน่วยกิต12 หน่วยกิต
หมวดวิชาระเบียบวิธีวิจัยอาจมีการเรียนเพิ่มเติม ไม่นับหน่วยกิต6 หน่วยกิต6 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือกอาจมีการเรียนเพิ่มเติม ไม่นับหน่วยกิต3 หน่วยกิต3 หน่วยกิต
สอบวัดคุณสมบัติต้องสอบผ่านภายในปีการศึกษาที่ 1สอบหลังจากเรียนรายวิชาครบถ้วนสอบหลังจากเรียนรายวิชาครบถ้วน
วิทยานิพนธ์48 หน่วยกิต36 หน่วยกิต48 หน่วยกิต
รวม48 หน่วยกิต57 หน่วยกิต75 หน่วยกิต
หลักสูตรแบบ 1.1 แบบทำวิทยานิพนธ์
เน้นการวิจัย ทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมโดยไม่มีหน่วยกิต
หลักสูตรแบบ 2.1 แบบเรียนรายวิชาและทำวิทยานิพนธ์
เน้นการวิจัยและศึกษารายวิชาเพิ่มเติมวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และรายวิชาไม่น้อยกว่า 21 หน่วยกิต
หลักสูตรแบบ 2.2 แบบเรียนระดับปริญญาโทและปริญญาเอก
ปริญญาโทควบเอก วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต และรายวิชาไม่น้อยกว่า 27 หน่วยกิต

วิชาเตรียมความพร้อม

เป็นวิชาที่ไม่กำหนดหน่วยกิตและไม่นำผลการศึกษามาคำนวณแต้มรวมเฉลี่ยที่นักศึกษาต้องเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ โดยใช้เวลาเรียนไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมง ดังนี้

  • ทท 4001 ภาษาอังกฤษขั้นสูงสำหรับการศึกษานโยบายการวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ
  • TH 4001 Advanced English for Integrated Tourism and Hospitality Policy, Planning and Management Studies
  • วิชาเสริมพื้นฐาน

    เป็นวิชาไม่นับหน่วยกิตและไม่นำผลการศึกษามาคำนวณแต้มรวมเฉลี่ยนักศึกษาจะต้องเรียนวิชาเสริมพื้นฐาน ในหมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ดังนี้

  • ภส 4003 การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการขั้นสูง
  • ภส 6000 การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษระดับสูงสำหรับบัณฑิตศึกษา
  • หมายเหตุ
    1.การเรียนการสอนมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะในการเขียนบทความทางวิชาการเป็นภาษาอังกฤษ โดยเงื่อนไขในการเรียนวิชาเสริมพื้นฐานภาษาอังกฤษให้เป็นไปตามประกาศของสถาบัน
    2.สามารถยกเว้นรายวิชาได้ในกรณีที่ผู้สมัครมีผลสอบภาษาอังกฤษ TOEFL ตั้งแต่ ๕๕๐ คะแนนขึ้นไป หรือ IELTS ตั้งแต่ระดับ 6.0 ขึ้นไป โดยต้องยื่นผลก่อนเปิดภาคการศึกษา

    วิชาพื้นฐาน

    สำหรับนักศึกษาหลักสูตรแบบ 2.2 เท่านั้น มี 2 วิชา 6 หน่วยกิต ได้แก่

  • ทท 6005 ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับการท่องเที่ยวและบริการ
  • ทท 7001 จริยธรรมในการกำหนดนโยบาย การวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวและบริการ
  • วิชาหลัก

    มี 4 วิชา 12 หน่วยกิต ได้แก่

  • ทท 8011 นโยบาย การวางแผนและการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  • ทท 8012 นวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ
  • ทท 8013 การจัดการการท่องเที่ยวและบริการโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์
  • ทท 8014 กลยุทธ์การจัดการขั้นสูงสำหรับธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง
  • วิชาระเบียบวิจัย

    เลือกเรียนเพียง 2 วิชา 6 หน่วยกิต ได้แก่

  • ทท 8101 ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธีขั้นสูงสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ
  • *ทท 8102 ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณขั้นสูงสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ
  • *ทท 8103 ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพขั้นสูงสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ
  • * เลือกเพียง 1 วิชา

    วิชาเลือก

    เลือกเรียนไม่น้อยกว่า 1 วิชา 3 หน่วยกิต ดังต่อไปนี้

  • ทท 8301 การวางแผนการเงินและการลงทุนเชิงประยุกต์สำหรับธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ
  • ทท 8302 สัมมนาแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์สำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวและบริการในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
  • ทท 8303 สัมมนานโยบาย การวางแผนและการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ
  • ทท 8304 การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาขีดความสามารถของทุนมนุษย์สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ
  • ทท 8005 การศึกษาตามแนวแนะ
  • วิทยานิพนธ์

  • ทท 9900 วิทยานิพนธ์ 36/48 หน่วยกิต
  • ภาคการศึกษาที่ 1: สิงหาคม - ธันวาคม
    ภาคการศึกษาที่ 2: มกราคม - พฤษภาคม
    ภาคการศึกษาฤดูร้อน: มิถุนายน - กรกฎาคม
    ระยะเวลาเรียนรายวิชา (coursework): 4 ภาคการศึกษา (เรียนวันเสาร์ - อาทิตย์ ทั้งนี้ อาจมีบางรายวิชามีการเรียนการสอนในวันธรรมดา)
    เปิดรับสมัครนักศึกษา 1 รุ่น ต่อปีการศึกษา

    คุณสมบัติผู้สมัคร

    1. ผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งจากสถาบันที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
    2. ผู้สมัครต้องมีผลการสอบ IELTS หรือ TOEFL ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ INSTITUTE OF INTERNATIONAL EDUCATION เพื่อประกอบการพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษาในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังนี้

      • ในกรณีที่ผู้สมัครมีผลสอบภาษาอังกฤษ TOEFL ตั้งแต่ 550 คะแนนขึ้นไป หรือ IELTS ตั้งแต่ระดับ 6.5 ขึ้นไป สามารถสมัครเพื่อพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษาได้ โดยเมื่อได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาแล้วจะได้รับการยกเว้นการเรียนวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา ตามเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนดในหลักสูตร วิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษาของคณะภาษาและการสื่อสาร
      • ในกรณีที่ผู้สมัครมีผลการทดสอบภาษาอังกฤษ TOEFL เท่ากับ 500 คะแนนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 550 คะแนน หรือ IELTS เท่ากับระดับ 5.0 ขึ้นไปแต่ไม่ถึงระดับ 6.5 สามารถสมัครเพื่อพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษาได้ โดยเมื่อได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาแล้วจะต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา ตามเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนดในหลักสูตร วิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษาของคณะภาษาและการสื่อสาร
      • ในกรณีที่ผู้สมัครไม่มีผลการทดสอบภาษาอังกฤษ TOEFL หรือ IELTS ผู้สมัครสามารถสมัครเพื่อพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษาได้ โดยเมื่อได้รับการพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษาแล้ว จะต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา ตามเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนดในหลักสูตร วิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษาของคณะภาษาและการสื่อสาร และจะต้องสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ TOEFL ให้ได้คะแนนไม่น้อยกว่า 500 คะแนน หรือ IELTS ตั้งแต่ระดับ 6.0 ขึ้นไป ก่อนการสำเร็จการศึกษา

    ทั้งนี้ ผลการสอบภาษาอังกฤษดังกล่าว ต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับจนถึงวันเปิดภาคการศึกษาแรกที่ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และ/หรือระดับปริญญาโทในหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษมาแล้วไม่เกิน 5 ปี โดยได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.75 ในระดับปริญญาตรี และ 3.25 ในระดับปริญญาโท อาจได้รับการพิจารณายกเว้นขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการ3. มีหนังสือรับรองว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะศึกษาในระดับดุษฎีบัณฑิต จากอาจารย์ที่สอนในระดับบัณฑิตหรือมหาบัณฑิต หรืออาจารย์ที่ปรึกษา และ/หรือ ผู้บังคับบัญชา จำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน
    4. สามารถอุทิศเวลาให้กับการศึกษาค้นคว้าได้เต็มเวลาจนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรและ ยอมรับข้อกำหนดที่ต้องเขียนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งได้รับการตีพิมพ์วิทยานิพนธ์ลงในวารสาร หรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่มีกรรมการภายนอกมาร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) หมายเหตุ
    แผนการเรียนแบบ 1.1 แบบวิทยานิพนธ์ ผู้สมัครต้องมีความรู้ด้านการวิจัย หรือมีประสบการณ์ดำเนินโครงการการวิจัยอย่างน้อย 1 เรื่อง (ไม่รวมวิทยานิพนธ์) โดยมีภาระงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับ หรือมีผลงานตีพิมพ์ลงในวารสารทางวิชาการอย่างน้อย 1 เรื่อง
    แผนการเรียนแบบ 2.2 แบบเรียนระดับปริญญาโทและเอก ผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาใดสาขาหนึ่งจากสถาบันที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) โดยมีระดับคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป หรือเกียรตินิยมอันดับ 1

    ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร