หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ
Doctor of Philosophy Program in Integrated Tourism and Hospitality Management
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ)
- ปร.ด. (การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ)
- Doctor of Philosophy (Integrated Tourism and Hospitality Management)
- Ph.D. (Integrated Tourism and Hospitality Management)
หมวดวิชา | หลักสูตรแบบ 1.1 | หลักสูตรแบบ 2.1 | หลักสูตรแบบ 2.2 |
วิชาเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา | ไม่น้อยกว่า 20 ชม. (ไม่นับหน่วยกิต) | ไม่น้อยกว่า 20 ชม. (ไม่นับหน่วยกิต) | ไม่น้อยกว่า 20 ชม. (ไม่นับหน่วยกิต) |
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน | 6 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) | 6 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) | 6 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต) |
หมวดวิชาพื้นฐาน | X | X | 6 หน่วยกิต |
หมวดวิชาหลัก | อาจมีการเรียนเพิ่มเติม ไม่นับหน่วยกิต | 12 หน่วยกิต | 12 หน่วยกิต |
หมวดวิชาระเบียบวิธีวิจัย | อาจมีการเรียนเพิ่มเติม ไม่นับหน่วยกิต | 6 หน่วยกิต | 6 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเลือก | อาจมีการเรียนเพิ่มเติม ไม่นับหน่วยกิต | 3 หน่วยกิต | 3 หน่วยกิต |
สอบวัดคุณสมบัติ | ต้องสอบผ่านภายในปีการศึกษาที่ 1 | สอบหลังจากเรียนรายวิชาครบถ้วน | สอบหลังจากเรียนรายวิชาครบถ้วน |
วิทยานิพนธ์ | 48 หน่วยกิต | 36 หน่วยกิต | 48 หน่วยกิต |
รวม | 48 หน่วยกิต | 57 หน่วยกิต | 75 หน่วยกิต |
เน้นการวิจัย ทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมโดยไม่มีหน่วยกิต
หลักสูตรแบบ 2.1 แบบเรียนรายวิชาและทำวิทยานิพนธ์
เน้นการวิจัยและศึกษารายวิชาเพิ่มเติมวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และรายวิชาไม่น้อยกว่า 21 หน่วยกิต
หลักสูตรแบบ 2.2 แบบเรียนระดับปริญญาโทและปริญญาเอก
ปริญญาโทควบเอก วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต และรายวิชาไม่น้อยกว่า 27 หน่วยกิต
วิชาเตรียมความพร้อม
เป็นวิชาที่ไม่กำหนดหน่วยกิตและไม่นำผลการศึกษามาคำนวณแต้มรวมเฉลี่ยที่นักศึกษาต้องเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ โดยใช้เวลาเรียนไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมง ดังนี้
วิชาเสริมพื้นฐาน
เป็นวิชาไม่นับหน่วยกิตและไม่นำผลการศึกษามาคำนวณแต้มรวมเฉลี่ยนักศึกษาจะต้องเรียนวิชาเสริมพื้นฐาน ในหมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ดังนี้
1.การเรียนการสอนมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะในการเขียนบทความทางวิชาการเป็นภาษาอังกฤษ โดยเงื่อนไขในการเรียนวิชาเสริมพื้นฐานภาษาอังกฤษให้เป็นไปตามประกาศของสถาบัน
2.สามารถยกเว้นรายวิชาได้ในกรณีที่ผู้สมัครมีผลสอบภาษาอังกฤษ TOEFL ตั้งแต่ ๕๕๐ คะแนนขึ้นไป หรือ IELTS ตั้งแต่ระดับ 6.0 ขึ้นไป โดยต้องยื่นผลก่อนเปิดภาคการศึกษา
วิชาพื้นฐาน
สำหรับนักศึกษาหลักสูตรแบบ 2.2 เท่านั้น มี 2 วิชา 6 หน่วยกิต ได้แก่
วิชาหลัก
มี 4 วิชา 12 หน่วยกิต ได้แก่
วิชาระเบียบวิจัย
เลือกเรียนเพียง 2 วิชา 6 หน่วยกิต ได้แก่
วิชาเลือก
เลือกเรียนไม่น้อยกว่า 1 วิชา 3 หน่วยกิต ดังต่อไปนี้
วิทยานิพนธ์
ภาคการศึกษาที่ 2: มกราคม - พฤษภาคม
ภาคการศึกษาฤดูร้อน: มิถุนายน - กรกฎาคม
ระยะเวลาเรียนรายวิชา (coursework): 4 ภาคการศึกษา (เรียนวันเสาร์ - อาทิตย์ ทั้งนี้ อาจมีบางรายวิชามีการเรียนการสอนในวันธรรมดา)
เปิดรับสมัครนักศึกษา 1 รุ่น ต่อปีการศึกษา
คุณสมบัติผู้สมัคร
1. ผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งจากสถาบันที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
2. ผู้สมัครต้องมีผลการสอบ IELTS หรือ TOEFL ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ INSTITUTE OF INTERNATIONAL EDUCATION เพื่อประกอบการพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษาในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังนี้
- ในกรณีที่ผู้สมัครมีผลสอบภาษาอังกฤษ TOEFL ตั้งแต่ 550 คะแนนขึ้นไป หรือ IELTS ตั้งแต่ระดับ 6.5 ขึ้นไป สามารถสมัครเพื่อพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษาได้ โดยเมื่อได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาแล้วจะได้รับการยกเว้นการเรียนวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา ตามเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนดในหลักสูตร วิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษาของคณะภาษาและการสื่อสาร
- ในกรณีที่ผู้สมัครมีผลการทดสอบภาษาอังกฤษ TOEFL เท่ากับ 500 คะแนนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 550 คะแนน หรือ IELTS เท่ากับระดับ 5.0 ขึ้นไปแต่ไม่ถึงระดับ 6.5 สามารถสมัครเพื่อพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษาได้ โดยเมื่อได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาแล้วจะต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา ตามเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนดในหลักสูตร วิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษาของคณะภาษาและการสื่อสาร
- ในกรณีที่ผู้สมัครไม่มีผลการทดสอบภาษาอังกฤษ TOEFL หรือ IELTS ผู้สมัครสามารถสมัครเพื่อพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษาได้ โดยเมื่อได้รับการพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษาแล้ว จะต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา ตามเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนดในหลักสูตร วิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษาของคณะภาษาและการสื่อสาร และจะต้องสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ TOEFL ให้ได้คะแนนไม่น้อยกว่า 500 คะแนน หรือ IELTS ตั้งแต่ระดับ 6.0 ขึ้นไป ก่อนการสำเร็จการศึกษา
ทั้งนี้ ผลการสอบภาษาอังกฤษดังกล่าว ต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับจนถึงวันเปิดภาคการศึกษาแรกที่ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และ/หรือระดับปริญญาโทในหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษมาแล้วไม่เกิน 5 ปี โดยได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.75 ในระดับปริญญาตรี และ 3.25 ในระดับปริญญาโท อาจได้รับการพิจารณายกเว้นขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการ3. มีหนังสือรับรองว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะศึกษาในระดับดุษฎีบัณฑิต จากอาจารย์ที่สอนในระดับบัณฑิตหรือมหาบัณฑิต หรืออาจารย์ที่ปรึกษา และ/หรือ ผู้บังคับบัญชา จำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน
4. สามารถอุทิศเวลาให้กับการศึกษาค้นคว้าได้เต็มเวลาจนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรและ ยอมรับข้อกำหนดที่ต้องเขียนวิทยานิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งได้รับการตีพิมพ์วิทยานิพนธ์ลงในวารสาร หรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่มีกรรมการภายนอกมาร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) หมายเหตุ
แผนการเรียนแบบ 1.1 แบบวิทยานิพนธ์ ผู้สมัครต้องมีความรู้ด้านการวิจัย หรือมีประสบการณ์ดำเนินโครงการการวิจัยอย่างน้อย 1 เรื่อง (ไม่รวมวิทยานิพนธ์) โดยมีภาระงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับ หรือมีผลงานตีพิมพ์ลงในวารสารทางวิชาการอย่างน้อย 1 เรื่อง
แผนการเรียนแบบ 2.2 แบบเรียนระดับปริญญาโทและเอก ผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาใดสาขาหนึ่งจากสถาบันที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) โดยมีระดับคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป หรือเกียรตินิยมอันดับ 1
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
หมายเหตุ: แบ่งจ่ายจำนวน 7 งวด